สวัสดีค่ะ วันนี้ แฟรี่คอนโด ได้พาทุกคนมาทำความรู้จักกับสถานีรถไฟฟ้าสายใหม่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู หลังจากที่ได้เริ่มมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น ในปัจจุบันได้มีความคืบหน้าในการดำเนินการก่อสร้างได้เกินครึ่งทางแล้ว โดยคาดว่าจะพร้อมเปิดให้ใช้บริการในปี 2565 ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีจุดเริ่มต้นจุดแรกเชื่อมต่อกับระบบขนส่งรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี บริเวณใกล้แยกแคราย ไล่เรื่อยไปตามเส้นทางถนนติวานนท์ ผ่าน 6 เขต ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีไปจนถึงมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดที่ สถานีมีนบุรี จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม
โดยในระหว่างทางการเดินทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น จะมีการตัดผ่านจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าอีก 3 สาย นั่นก็คือรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่สถานีหลักสี่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-บางซื่อ ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพลรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งหมด 3 ปี 3 เดือน โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูรวมทั้งสิ้นเป็นมูลค่ากว่า 53,490 ล้านบาทค่ะ
30 สถานีรถไฟฟ้าสีชมพูที่คุณต้องรู้ มีดังนี้
1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
ตั้งอยู่บน ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าถึง 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม) บางซื่อ-บางใหญ่ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
2. สถานีแคราย
ตั้งอยู่บน ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
3. สถานีสนามบินน้ำ
ตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
4. สถานีสามัคคี
ตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
5. สถานีกรมชลประทาน
ตั้งอยู่บน ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
6. สถานีแยกปากเกร็ด
ตั้งอยู่บน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เชื่อมต่อกับเรือด่วนเจ้าพระยา ท่าปากเกร็ด
7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
ตั้งอยู่บน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
8. สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
9. สถานีเมืองทองธานี
ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทุบรี
10. สถานีศรีรัช
ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์) เชื่อมเข้ากับด้านในเมืองทองธานี
11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14
ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
13. สถานีทีโอที
ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
14. สถานีหลักสี่
ตั้งอยู่บน แขวงตลาดบางเขต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต
15. สถานีราชภัฏพระนคร
ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
17. สถานีรามอินทรา 3
ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
18. สถานีลาดปลาเค้า
ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
19. สถานีรามอินทรา กม.4
ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
20. สถานีมัยลาภ
ตั้งอยู่บน แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ
21. สถานีวัชรพล
ตั้งอยู่บน แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพล
22. สถานีรามอินทรา กม.6
ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
23. สถานีคู้บอน
ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
24. สถานีรามอินทรา 83
ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
25. สถานีปัญญาอินทรา
ตั้งอยู่บน แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
26. สถานีนพรัตน์
ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
27. สถานีบางชัน
ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
29. สถานีตลาดมีนบุรี
ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
30. สถานีมีนบุรี
ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีมีนบุรี พร้อมอาคารจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุง
รถไฟฟ้าสายสีชมพูที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 6 สาย ดังนี้
1. รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
3. รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่สถานีหลักสี่
4. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานวัดพระศรีมหาธาตุ
5. รถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพล
6. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีปลายทางอย่างสถานีมีนบุรี
จากข้อมูลข้างต้น เชื่อว่าจะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ใช้บริการได้อย่างสะดวกเลยทีเดียว เนื่องจากผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางจากโครงข่ายหนึ่งไปยังอีกโครงข่ายหนึ่งได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งเป็นการช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง ช่วยลดเวลาในการเดินทางและเพิ่มเวลาแห่งความสุขได้ดีอีกด้วยค่ะ
เป็นยังไงบ้างคะกับบทความของเราในวันนี้หวังว่าบทความของเราจะมีประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ