หากช่วงหนึ่งของชีวิต เมื่อถึงเวลาที่จะดีขึ้น ก็ไม่อาจจะห้ามได้ ที่จะไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลง ย่อมทำให้ทุกคนมีชีวิตที่เปลี่ยนไปเสมอ และมักจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และการที่เราจะต้องย้ายที่อยู่อาศัย ก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เมื่อเราได้ตำแหน่งงานที่ดีขึ้น การย้ายที่อยู่ เพื่อไปอยู่อาศัยใกล้แหล่งงานที่ทำ ก็จะทำให้มีเวลาในการทำงานได้อย่างเต็มที่ มีพลังที่จะโฟกัสไปที่เรื่องงานอย่างเต็มที่ ยิ่งถ้าเราต้องย้ายแบบด่วนจี๋ ไปยังต่างถิ่นต่างแดน สิ่งที่จะทำให้เราต้องกังวลเป็นอย่างแรก ก็มักจะเป็น การย้ายทะเบียนบ้าน ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ในกลุ่มคนที่จำเป็นต้องเดินทางกระทันหัน มักจะไม่ทันได้ย้ายทะเบียนก่อนที่จะเดินทาง แต่ดันมานึกขึ้นได้ตอนที่ไปถึงปลายทางแล้ว แล้วจะทำเช่นไรดี วันนี้ แฟรี่คอนโด ก็จะมาบอกเทคนิคดีๆ ในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางให้เพื่อนๆฟังกัน
เมื่อบุญหนุนนำ สิ่งดีๆต่างกระหน่ำเข้ามาในชีวิต แม้แต่ฟ้าดินก็ไม่อาจจะต้านได้ อุปสรรคใดๆก็ไม่อาจกั้น เพื่อนๆเอาไว้กับความสำเร็จได้อีกต่อไป การโยกย้าย จึงเป็นเรื่องที่ดี ที่จะนำพาให้เพื่อนๆได้พบเจอเรื่องราวใหม่ๆ คนใหม่ๆ และสถานที่ใหม่ๆ ที่จะมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นจากเดิม เพื่อให้เราได้โยกย้ายได้อย่างสมบูรณ์ เช่นถ้าเพื่อนๆมีภูมิลำเนา และชื่ออยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่เพื่อนๆได้งานที่ดีกว่า เงินเดือนที่มากกว่า จึงทำให้ต้องรีบย้ายไปทำงานที่สาขากรุงเทพฯด่วน ซึ่งระยะทางก็ถือว่านานพอสมควร เจ้านายก็เร่งให้รีบเดินทางไปภายในวันนี้ แล้วพรุ่งนี้เริ่มงานเลย เราจะปฏิเสธก็ไม่ได้ ต้องรีบเดินทางด่วน เราไปดูกันเถอะว่า ถ้าหากเราอยู่ต่างถิ่น เราจะแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านที่ใหม่ได้อย่างไร
ถือว่าเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่ บริษัทจัดแจงที่พักอาศัยให้ พร้อมเข้าอยู่ เป็นสวัสดิการของพนักงาน ที่เรียกได้ว่าดีมาก ทำให้เราไม่ต้องเสียค่าเช่าบ้าน มีที่พักอาศัยให้ และพร้อมให้นำชื่อเข้าทะเบียนบ้าน เพื่อที่จะได้ดำเนินการใดๆได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากท่านใด ไม่มีที่พักให้ ก็สามารถย้ายชื่อเข้าบ้านญาติได้เช่นกัน ซึ่งเราควรดำเนินการภายใน 15วัน หลังเข้าอยู่ หากล่าช้ากว่านั้น ก็อาจจะทำให้เราต้องจ่ายค่าปรับ ในกรณีที่แจ้งเข้าอยู่ล่าช้าได้ เป็นเงินโดยประมาณ 1,000บาท ซึ่งถ้าเพื่อนๆรู้ดังนี้แล้ว ควรหาวันสำหรับลาหยุดมาทำธุระเรื่องย้ายให้เรียบร้อย โดยเตรียม เอกสารให้พร้อมก่อนจะเดินทางไป
สำหรับการย้ายทะเบียนบ้านใช้อะไรบ้าง มาดูกัน 1.สำเนาทะเบียนบ้าน ตัวจริง ของบ้านที่เราจะย้ายเข้า 2.บัตรประจำตัวประชาชนของเราเอง 3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน พร้อมลายเซ็น 4.หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าบ้านหรือใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ตอนที่1 และตอนที่2 พร้อมลงนามลายเซ็นเจ้าของบ้านยินยอมให้ย้ายเข้าบ้าน 5.หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของบ้านให้กระทำการแทน เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ก็สามารถไปทำเรื่องย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้าน โดยเดินทางไปที่อำเภอ ตามทะเบียนบ้านที่เราอยู่ได้เลย เช่นอยู่อำเภอเมือง ก็ต้องไปจัดการดำเนินเอกสารที่อำเภอเมือง ในจังหวัดที่เราอยู่ ถ้าหากเราสามารถพาเจ้าบ้านไปกับเราด้วยได้ ก็จะช่วยลดขั้นตอนในการ เตรียมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวกับเจ้าบ้านไปได้เยอะ เพียงแค่เจ้าบ้านเตรียมสำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านตัวจริงเล่มที่จะย้ายเข้า และตัวเราเอง พกเพียง บัตรประจำตัวประชาชน ไปเท่านั้น เพียงเท่านี้ เจ้าหน้าที่ก็สามารถจัดการดำเนินเรื่องแจ้งย้ายปลายทางให้กับเราได้แล้ว
สำหรับใครที่เป็นเจ้าบ้านอยู่แล้ว แล้วต้องการย้ายทะเบียนบ้านของลูกเข้ามาอยู่กับตัวเอง ก็สามารถทำเรื่องและดำเนินเอกสารได้ง่าย เพียงพกทะเบียนบ้านตัวจริง บัตรประชาชนเจ้าของบ้าน แล้วสูติบัตรของลูก หรือสำเนาบัตรประชาชนของลูก กรณีที่ลูกโตแล้ว ติดต่อที่อำเภอก็จะดำเนินการย้ายทะเบียนบ้านลูกแบบโอนลอยให้ได้เลย แต่ถ้าหากกรณีเจ้าของบ้าน ไม่ใช่พ่อแม่ของเด็ก มีความจำเป็นที่ ผู้ปกครองของเด็ก จะต้องไปดำเนินการด้วยโดยพกบัตรประชาชนตัวจริง และทะเบียนสมรสไปดำเนินการพร้อมกับเจ้าของบ้านด้วยนั่นเอง
แล้วถ้าหากเราเป็นเจ้าของบ้าน ที่ซื้อบ้านหลังใหม่ ต้องการที่จะย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ จะทำได้ไหม ก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งการเป็นเจ้าบ้านเองนั้น ก็ค่อนข้างสะดวก ตรงที่สามารถไปดำเนินการเองได้เลย โดยตามปกติแล้วการมีบ้านหลายหลัง บ้านที่เราซื้อใหม่นั้น ไม่มีความจำเป็นต้องย้ายออกจากทะเบียนบ้านหลังเก่า และบ้านหลังใหม่ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าบ้านก็ได้ ยกเว้นเสียแต่ว่า เรามีความจำเป็น ที่ต้องการใช้สิทธิ์เลือกตั้งในเขตนั้น หรือเราต้องการส่งลูกของเราเข้าเรียน โรงเรียนรัฐบาลในเขตนั้น หรือกำลังวางแผนที่จะขายบ้านหลังนี้ต่อ แต่ต้องการประหยัดภาษีธุรกิจเฉพาะ จึงต้องการที่จะย้ายชื่อเข้าบ้านเพื่อเป็นเจ้าบ้าน เมื่อครบ3ปี ก็สามารถขายบ้านได้ง่ายขึ้น ไม่เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ทำให้ขายบ้านออกได้ง่ายขึ้น เพราะตั้งราคาขายบ้านได้ถูกกว่านั่นเอง โดยการดำเนินการ เพียงเจ้าบ้านพกทะเบียนบ้านหลังใหม่ ที่ต้องการย้ายเข้าอยู่ เป็นทะเบียนบ้านแบบตัวจริงไป และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้าน ไปที่อำเภอที่บ้านใหม่หลังนั้น แล้วทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้าน เป็นเจ้าบ้านหลังใหม่ได้เลย เจ้าหน้าที่ก็สามารถดำเนินการให้ได้อย่างง่ายดาย เพียงเท่านี้ ก็สามารถแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านได้แล้ว